วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงาม และมีความสําคัญทางด้านประวัติศาสตร์ วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองลําปาง ตามตํานานกล่าวว่า มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ตัววัดตั้งอยู่บนเนิน มีบันไดนาคทอดขึ้นสู่ตัววัด
วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่ ต.ลําปางหลวง ห่างจากตัวเมืองลําปาง ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายลําปาง-เถิน ถึงหลักกิโลเมตรที่ 586 เลี้ยวเข้าไปจนถึงที่ว่าการอําเภอเกาะคา
จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร
วัดพระธาตุลำปางหลวง มีพุทธสถานที่น่าสนใจได้แก่ วิหารหลวง ซึ่งเป็นวิหารขนาดใหญ่ เปิดโล่ง มีกู่บรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร หลังพระวิหารมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระเจดีย์มีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฎอยู่ ด้านขวาองค์เจดีย์เป็นวิหารน้ำแต้ม (แต้ม แปลว่าภาพเขียน) เป็นวิหารเปิดโล่ง ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก ด้านซ้ายของพระเจดีย์เป็นวิหารพระพุทธ เป็นอาคารปิดทึบ มีพระประธานแบบเชียงแสนองค์ใหญ่อยู่เต็มอาคาร หน้าบันของวิหารพระพุทธเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี และพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่น สังเค็ดธรรมาสนเทศน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น
นอกจากนี้ วัดพระธาตุลำปางหลวง ยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วดอนเต่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลําปาง ทุกปีจะมีงานประจําปีในวันเพ็ญเดือน 12
วัดสร้อยทอง
วัดสร้อยทอง เดิมชื่อ "วัดซ่อนทอง" เป็นวัดเก่ามีมานาน สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๔ ไม่ทราบนามและประวัติของผู้สร้าง สันนิษฐานว่าคงเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง นามว่า หลวงพ่อเหลือ สร้างจากโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธาน ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ภายในเกศของหลวงพ่อบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ๕ พระองค์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ บริเวณที่ตั้งวัดอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ เป็นผลให้หลายส่วนของวัดได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด แต่ปรากฏว่า หลวงพ่อเหลือ กลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านมาโดยตลอด
ปัจจุบันวัดสร้อยทองได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๑๓ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
สถานที่ตั้ง
อยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ บริเวณปากคลองบางซ่อน มีเลขทะเบียนปกครองที่ ๑๓๑๙ ถนนประชาราษฎร์สาย ๑ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
วัดสร้อยทองก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
หอจดหมายแห่งชาติท่าวาสุกรีได้บันทึกว่าในปี ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๕) และปี ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) กล่าวถึงรายงานการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ของวัดสร้อยทอง มีคหบดีและประชาชนชาวไทย ชาวญวน เป็นกำลังสำคัญในการบูรณะช่วงเวลาดังกล่าว หลวงปู่เบี้ยว เป็นเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง โดยมีหลวงนิกรมบริรักษ์ (เจิม) เป็นมรรคนายก (ท่านผู้นี้เป็นต้นตระกูลกาญจนินทุ) มีบ้านเรือนอยู่ในคลองบางซ่อน บุตรชาย ของท่านเป็นอดีตกรมศิลปากร คือ พ.อ. หลวงรณสิทธิชัย (เจือ กาญจนินทุ)สภาพของวัดสร้อยทองในอดีต มีความพร้อมในทุกด้าน ศาสนวัตถุก่อเกิดขึ้นมากมายมีหมู่กุฏิสงฆ์หอสวดมนต์หอระฆังหอกลองศาลาท่าน้ำเจดีย์ใหญ่และมณฑปพระพุทธบาทหลวงปู่เบี้ยวท่านเป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะหมวดคลองบางซ่อนขึ้นอยู่กับการปกครองของพระราชเมธี (ขาว เขมโก) วัดสามพระยา ซึ่งเป็นเจ้าคณะแขวงพระนครบน
-->
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก
ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมมากมาย
อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน เปิดให้ เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.) หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าในราคาคันละ 20 บาท
กรณีเข้าชมเป็นหมู่เป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชม หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64210 โทร. 0-5569-7310
การเดินทาง จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที
วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556
อุทยานแห่งชาติประวัตศาสตร์กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบัน ลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำ ความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลองธรรมชาติ
ภายในเมืองและนอกเมืองกำแพงเพชรมีซากโบราณสถานใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ กลางเมืองมีวัดพระแก้ว วัดพระธาตุเป็นศูนย์กลาง เป็นลักษณะวัดหลวงที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาส ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วเป็นบริเวณที่เรียกว่าสระมน (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณวังโบราณ) และเทวสถานศาลพระอิศวรซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณนอกเมืองทางด้านทิศเหนือ มีกลุ่มวัดโบราณขนาดใหญ่น้อยประมาณ 40 แห่ง สร้างอยู่บนเนินเขาลูกรังขนาดย่อม จัดเป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วัดพระนอน วัดป่ามืด วัดพระสี่อิริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดเตาหม้อ วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองกำแพงเพชร ด้วยโบราณสถานสร้างรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โบราณสถานมีขนาดใหญ่โตอลังการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และมีความงดงามทางศิลปกรรมของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรควบคู่กันไป
บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงหรือฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่เรียกว่าเมืองนครชุม ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตรงปากคลองสวนหมาก กำแพงเมืองเป็นลักษณะคันดินสามชั้น ซึ่งในปัจจุบันถูกทำลายไปมากทั้งการกัดเซาะของแม่น้ำปิง และการขยายตัวของชุมชนปัจจุบัน
กลุ่มโบราณสถานสำคัญชองเมืองนครชุมตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ ห่างจากแนวกำแพงเมืองประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มวัดเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม วัดสำคัญได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ และวัดหนองลังกา
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกขานกันว่า วัดใหญ่ หรือวัดพระศรี กันจนติดปาก แม้นพระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหารคือ พระพุทธชินราช ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่ ตามไปด้วย วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อปี พ.ศ. 1900
ภายในวัดสิ่งโบราณสถานโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย อาทิ
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลาง และมีเทพอสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดบวรนิเวศวิหารตามลำดับ
บานประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า นมอกเลา เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย อีแปะ ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
พระเหลือ พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก เรียกว่า พระเหลือ และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นหนึ่งหลัง อัญเชิญพระเหลือกับพระสาวกไปประดิษฐาน เรียกว่า วิหารพระเหลือ
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1811 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า เนินวิหารเก้าห้อง
พระปรางค์ประธาน ศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
วิหารแกลบ
พระเจ้าเข้านิพพาน เป็นโบราณวัตถุสมัยอยุธยา นับว่าเป็นชิ้นสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร ถือว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นหีบบรรจุพระบรมศพ ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตราการ ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เปิดทุกวัน เวลา 6.30-18.00 น. ส่วนพิพิธภัณฑ์ในวัดเปิดเวลา 8.30-16.30 น.
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดผาสามเงา จ.ตาก
วันนี้พามาเที่ยวที่จังหวัดตากค่ะ ที่วัดผาสามเงา
ผาสามเงา คือหน้าผาที่มีความสวยงาม และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ วัดป่าพระสามเงา ตำบลย่านรี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ผาสามเงา คือชื่อที่ ชาวบ้านเรียกขาน เนื่องจากบริเวณเชิงเขาริมหน้าผานั้น ได้มีการเจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อภูเขาเรียงกันจำนวน 3 ช่อง ภายในช่องผามีการระดิษฐานพระพุทธรูปปิดทองช่องละองค์ ปัจจุบันมีการสร้างบันไดไม้ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปได้
ทำไมถึงเรียกว่า "ผาสามเงา"
...จากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ...เมื่อประมาณปี พ.ศ.1206 มีพระฤาษีสององค์สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และให้คนมาทูลเชิญราชวงศ์กษัตริย์จากเมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ไปครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวี ได้รับมอบหมายให้ไปครองเมืองตามคำเชิญ
ดังนั้นพระนางจึงเสด็จมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำน้ำปิงปรากฏว่า เมื่อมาถึงบริเวณหน้าผาแห่งนี้เกิดเหตุมหัศจรรย์ มีฝนและพายุใหญ่พัดกระหน่ำจนเรือไม่สามารถแล่นทวนน้ำขึ้นไปได้
เมื่อมองไปยังหน้าผาซึ่งอยู่ริมน้ำ ก็ปรากฏเงาพระพุทธรูปสามองค์ที่หน้าผาแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้พระนางจามเทวี จึงสั่งให้เจาะหน้าผาและสร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ในช่อง ช่องละองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "ผาสามเงา" สืบมานั่นเอง
วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดพระธาตุศรีดอนคำ แพร่
วัดพระธาตุศรีดอนคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดห้วยอ้อ อยู่เลยที่ว่าการอำเภอลองไปเล็กน้อย ห่างจากตัวเมืองแพร่ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1023 เป็นพระธาตุเก่าแก่ขนาดใหญ่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1078 คราวพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัย พระธาตุแห่งนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ปัจจุบันมีฐานเป็นปูน ส่วนบนประดับด้วยแผ่นโลหะสีทอง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมตำนานพระพุทธรูป และมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า ที่ทำจากไม้เรียกว่า "พระเจ้าพร้าโต้" ตลอดจนคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งเก็บไว้ในหอไตรของวัด
ประวิติวัด
ราวปีพ.ศ 1078 พระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้เป็นมเหสีพระยารามรามัญผู้ครองเมืองอโยฌิยา (เมืองรามบุรี) ขณะนั้นทรงตั้งครรภ์ฝาแฝดยังอ่อนอยู่ ได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เวลาทีมานั้นพระราชบิดาได้มอบผอบทองคำปจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้มาจากโทณพรามณ์ มาด้วยเรือพร้อมด้วยคณะสังฆะ นักปราชญ์ ไพร่พลอันมาก ชรอยผิดกระแสน้ำปิงมาตามน้ำยม พระนางก็หันน้ำจ้อมจึงคนึงใจว่า เราลองขึ้นไปก่อนเทิด ว่า อัน แต่นั้นมาจึงเรียกว่า "เมืองลอง" จนถึงบัดนี้ และแล้วได้ประชุมยังสังฆะ นักปราชญ์ พิจารณาเห็นว่า ที่นี่ปุนสนุกถูกเนื้อเปิงใจก็ไคร่ปจุพระธาตุ ว่าอันแล้ว พอถึงวันดีจึงพร้อมกันปจุพระธาตุว้าและปลูกต้นมะแงต้นหนึ่ง แล้วจึงดาริพลล่องน้ำยมกลับขึ้นน้ำปิงไปรอด เมืองหริภุญชัย อยู่มาจึงได้ประสูติลูกชายสองคน คนหนึ่งชื่อว่า มหันตยศ - อนันตยศ พระนางไปสร้างเมืองเชียงใหม่ และสร้างหอ-พัก-ตำนานล้านนา แล้วเอาขึ้นไว้ยังหาอพระแก้ว
วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดราชคีรีหิรัญญาราม จ.พิษณุโลก ิิิิิิิิิิิิิิิิิิิ
วัดราชคีรีหิรัญญารามประวัติเดิมไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างแต่ถูกกาลเวลาปล่อยทิ้งร้างจนมาถึงปี 2483 โดยกระทรวงศึกษาธิการ กรมการศาสนา ได้ออกหนังสือรับรองความเป็นวัด วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2530 ความว่า เป็นวัดที่สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติสักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
ิิิิิิ
ต่อมาเจ้าคณะตำบลวังทอง คือ "พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์" เจ้าอาวาสวัดบางสะพาน อ.วังทอง ได้เห็นความสำคัญของวัดอันเป็นวัดเก่าโบราณ แต่ยังขาดพระสงฆ์มาดูแลจึงได้นิมนต์พระจากกรุงเทพมหานครมารักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ว่างลง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533
หลังจากนั้น "พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์" ก็ได้ค้นคว้าความเป็นมาของวัดราชคีรีหิรัญญาราม ซึ่งมีเนื้อที่เขตวัดในปัจจุบันประมาณ 230 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ต่อมา "พระอาจารย์มานิตย์ ลัทธคุโณ" ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยความเห็นชอบของเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เพื่อดูแลฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์พุทธปฏิมากรสถานวัดราชคีรีหิรัญญาราม ตั้งอยู่บนไหล่เขาสมอแครง ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุ โลก ตั้งอยู่ติดถนนทางหลวงหมายเลข 12 พิษณุโลก วังทอง-หล่มสัก-เพชรบูรณ์ (บนเชิงลาดไหล่เขาสมอแครง) เป็นทางลาดยาง รถ ยนต์ขึ้นถึงวัดได้โดยสะดวก ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระอวโลกิเตศวร พระบรมมหาโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว" ความสูง 3 เมตร 5 เซนติเมตร น้ำหนัก 3 ตัน หรือ 3,000 กิโลกรัม นับได้ว่าเป็นหินทะเลหยกขาวองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก อภินิหารของเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวเกิดขึ้นขณะอัญเชิญมาประดิษฐาน
พระอาจารย์มานิตย์ ลัทธคุโณ เจ้าอาวาสวัดราชคีรีหิรัญญาราม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกได้เป็นประธานอัญเชิญองค์เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว ด้วยการอาราธนาเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก เจริญพระพุทธมนต์ชัยมงคลคาถา โดยการยกเจ้าแม่กวนอิมขึ้นรถเทรลเลอร์ของทหาร โดย พล.ต.วิทวัส เตมียบุตร ผู้บัญชาการหน่วยรบที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ดูแลนำคณะเดินทางออกจาก จ.นครสวรรค์ เวลา 06.09 น. วันที่ 15 ตุลาคม 2535 และทันทีที่ได้เดินทางถึงจังหวัดพิษณุโลกผ่านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์แก่ประชา ชนโดยทั่วไป คือ ไฟฟ้าในพระวิหารพระพุทธชินราชได้ดับลงอย่างน่ามหัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน
เวลา 09.49 น.ขณะที่พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์ และพล.ต. วิทวัส เตมียบุตร ได้เข้าไปในพระวิหารเพื่อกราบนมัสการขอขมาพระพุทธชินราช เพื่อขออนุญาตให้เปิดทางในการอัญเชิญเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวไปอำเภอวังทอง ทั้งๆ ที่ไฟฟ้ายังดับอยู่ และได้สวดมนต์ภาวนาขอบารมี โดยปาฏิ หาริย์ขององค์พระพุทธชินราช ทราบในข่ายพระญาณว่า เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวจะแวะมานมัสการพระพุ้้ทธชินราช แต่ด้วยความใหญ่โตสูงใหญ่ ถ้าเข้าไปในพระวิหารลำบากมาก รถเทรลเลอร์ได้จอดขวางอยู่หน้าประตูทางเข้าพระวิหารทางด้านหลวงพ่อ การเกิดเหตุไฟดับในครั้งนี้เป็นสัญญาณบอกให้รับรู้การขอขมา จึงมีประการเดียวคือแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทำให้ไฟฟ้าในพระวิหารดับ เพื่อให้คนที่กำลังกราบไหว้พระพุทธชินราชได้ออกไปภายนอก และได้พบกับองค์เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวประทับยืนตระ หง่านอยู่บนรถเทรล เลอร์ คนที่เดินออกจากพระวิหารต่างก็กรูกันไปกราบไหว้นมัส การองค์พระแม่กวนอิมหยกขาวกันอย่างเนืองแน่น พากันยก มือท่วมหัว เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นและสร้างความฮือฮา
กล่าวขวัญถึงบารมีของเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ที่เปรียบเสมือนกับพระโพธิสัตว์องค์สำคัญได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวในด้านความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นที่เลื่องลือระบือไกล ปรากฏเห็นเป็นที่ประจักษ์คนแล้วคนเล่า ผู้คนที่มากราบไหว้ขอพรล้วนแล้วแต่กลับไปมีความสุขสมหวังดั่งที่ปรารถนา ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก
ขณะนี้ทางวัดกำลังบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงภูมิทัศน์เปลี่ยนแปลงในเขตพุทธาวาสมีพระวิหาร และก่อสร้างหอฉัน หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ห้องน้ำ เพื่อรองรับคณะญาติโยมที่มาท่องเที่ยวและปฏิบัติธรรม ทางวัดได้นำเงินของผู้มีจิตศรัทธานำมาก่อสร้างไปแล้วประมาณ 10 กว่าล้านบาท แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ิิิิิิ
ต่อมาเจ้าคณะตำบลวังทอง คือ "พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์" เจ้าอาวาสวัดบางสะพาน อ.วังทอง ได้เห็นความสำคัญของวัดอันเป็นวัดเก่าโบราณ แต่ยังขาดพระสงฆ์มาดูแลจึงได้นิมนต์พระจากกรุงเทพมหานครมารักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ว่างลง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533
หลังจากนั้น "พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์" ก็ได้ค้นคว้าความเป็นมาของวัดราชคีรีหิรัญญาราม ซึ่งมีเนื้อที่เขตวัดในปัจจุบันประมาณ 230 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ต่อมา "พระอาจารย์มานิตย์ ลัทธคุโณ" ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยความเห็นชอบของเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เพื่อดูแลฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์พุทธปฏิมากรสถานวัดราชคีรีหิรัญญาราม ตั้งอยู่บนไหล่เขาสมอแครง ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุ โลก ตั้งอยู่ติดถนนทางหลวงหมายเลข 12 พิษณุโลก วังทอง-หล่มสัก-เพชรบูรณ์ (บนเชิงลาดไหล่เขาสมอแครง) เป็นทางลาดยาง รถ ยนต์ขึ้นถึงวัดได้โดยสะดวก ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระอวโลกิเตศวร พระบรมมหาโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว" ความสูง 3 เมตร 5 เซนติเมตร น้ำหนัก 3 ตัน หรือ 3,000 กิโลกรัม นับได้ว่าเป็นหินทะเลหยกขาวองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก อภินิหารของเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวเกิดขึ้นขณะอัญเชิญมาประดิษฐาน
พระอาจารย์มานิตย์ ลัทธคุโณ เจ้าอาวาสวัดราชคีรีหิรัญญาราม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2535 ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกได้เป็นประธานอัญเชิญองค์เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว ด้วยการอาราธนาเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก เจริญพระพุทธมนต์ชัยมงคลคาถา โดยการยกเจ้าแม่กวนอิมขึ้นรถเทรลเลอร์ของทหาร โดย พล.ต.วิทวัส เตมียบุตร ผู้บัญชาการหน่วยรบที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ดูแลนำคณะเดินทางออกจาก จ.นครสวรรค์ เวลา 06.09 น. วันที่ 15 ตุลาคม 2535 และทันทีที่ได้เดินทางถึงจังหวัดพิษณุโลกผ่านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์แก่ประชา ชนโดยทั่วไป คือ ไฟฟ้าในพระวิหารพระพุทธชินราชได้ดับลงอย่างน่ามหัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน
เวลา 09.49 น.ขณะที่พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์ และพล.ต. วิทวัส เตมียบุตร ได้เข้าไปในพระวิหารเพื่อกราบนมัสการขอขมาพระพุทธชินราช เพื่อขออนุญาตให้เปิดทางในการอัญเชิญเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวไปอำเภอวังทอง ทั้งๆ ที่ไฟฟ้ายังดับอยู่ และได้สวดมนต์ภาวนาขอบารมี โดยปาฏิ หาริย์ขององค์พระพุทธชินราช ทราบในข่ายพระญาณว่า เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวจะแวะมานมัสการพระพุ้้ทธชินราช แต่ด้วยความใหญ่โตสูงใหญ่ ถ้าเข้าไปในพระวิหารลำบากมาก รถเทรลเลอร์ได้จอดขวางอยู่หน้าประตูทางเข้าพระวิหารทางด้านหลวงพ่อ การเกิดเหตุไฟดับในครั้งนี้เป็นสัญญาณบอกให้รับรู้การขอขมา จึงมีประการเดียวคือแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทำให้ไฟฟ้าในพระวิหารดับ เพื่อให้คนที่กำลังกราบไหว้พระพุทธชินราชได้ออกไปภายนอก และได้พบกับองค์เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวประทับยืนตระ หง่านอยู่บนรถเทรล เลอร์ คนที่เดินออกจากพระวิหารต่างก็กรูกันไปกราบไหว้นมัส การองค์พระแม่กวนอิมหยกขาวกันอย่างเนืองแน่น พากันยก มือท่วมหัว เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นและสร้างความฮือฮา
กล่าวขวัญถึงบารมีของเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ที่เปรียบเสมือนกับพระโพธิสัตว์องค์สำคัญได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวในด้านความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นที่เลื่องลือระบือไกล ปรากฏเห็นเป็นที่ประจักษ์คนแล้วคนเล่า ผู้คนที่มากราบไหว้ขอพรล้วนแล้วแต่กลับไปมีความสุขสมหวังดั่งที่ปรารถนา ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก
ขณะนี้ทางวัดกำลังบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงภูมิทัศน์เปลี่ยนแปลงในเขตพุทธาวาสมีพระวิหาร และก่อสร้างหอฉัน หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ห้องน้ำ เพื่อรองรับคณะญาติโยมที่มาท่องเที่ยวและปฏิบัติธรรม ทางวัดได้นำเงินของผู้มีจิตศรัทธานำมาก่อสร้างไปแล้วประมาณ 10 กว่าล้านบาท แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง จังหวัดตาก
วันนี้จะพาทุกคนไปที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง จังหวัดตาก กันค่ะ
วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๑ บ้านรมณีย์ ถนนตากสิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๑๖.๓๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินสาธารณะ ที่ตั้งศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทิศใต้ติดต่อกับถนนจรดวิถีถ่อง ทิศตะวันออกติดต่อกับที่ตั้งโรงเรียน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนตากสิน โดยมีโฉนดเลขที่ ๑๙๔๖ เป็นหลักฐาน และธรณีสงฆ์ จำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๓๑.๔๐ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๐๘๑, ๑๐๘๒, ๒๑๐๖
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่เนินสูง อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถกว้าง ๖.๑๐ เมตร ยาว ๑๔.๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๐๒ ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๖ หอสวดมนต์กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๓.๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๒ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ และที่ศาลาการเปรียญมีพระประธานเรียก หลวงพ่อพุทธมนต์ เนื้อสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตอนต้น มีพุทธลักษณะที่สวยงามมาก
วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ผู้สร้างคือ พระยาวิชิตรักษา (แก้ว เจ้าเมืองตาก) อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ แต่เดิมนั้นมีอยู่ ๒ วัด ติดต่อกันคือ วัดโบสถ์มณีราษฎร์ กับวัดศรีบุญเรือง โดยมีกำแพงกั้นอยู่ด้านหลังอุโบสถของวัดโบสถ์มณีราษฎร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการ๕ระสงฆ์ จังหวัดตาก ได้เสด็จเยี่ยมวัดโบสถ์มณีราษฎร์วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ พระองค์ทรงปรารกว่า ถ้าได้รวมวัดศรีบุญเรืองกับวัดโบสถ์มณีราษฎร์เป็นวัดเดียว โดยให้ชื่อว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” จะเป็นการดียิ่ง หลังจากนั้นจึงได้มีการรวมวัดทั้งสองดังกล่าวเป็นวัดเดียว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ให้มีนามว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ นับเป็นวัดชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๙ รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตลอดมา มีโรงเรียนของทางราชการตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย ซึ่งทางวัดได้ให้การอนุเคราะห์ด้วยดีตลอดมา
วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๑ บ้านรมณีย์ ถนนตากสิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๑๖.๓๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินสาธารณะ ที่ตั้งศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทิศใต้ติดต่อกับถนนจรดวิถีถ่อง ทิศตะวันออกติดต่อกับที่ตั้งโรงเรียน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนตากสิน โดยมีโฉนดเลขที่ ๑๙๔๖ เป็นหลักฐาน และธรณีสงฆ์ จำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๓๑.๔๐ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๐๘๑, ๑๐๘๒, ๒๑๐๖
พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่เนินสูง อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถกว้าง ๖.๑๐ เมตร ยาว ๑๔.๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๐๒ ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๖ หอสวดมนต์กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๓.๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๒ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ และที่ศาลาการเปรียญมีพระประธานเรียก หลวงพ่อพุทธมนต์ เนื้อสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตอนต้น มีพุทธลักษณะที่สวยงามมาก
วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ผู้สร้างคือ พระยาวิชิตรักษา (แก้ว เจ้าเมืองตาก) อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ แต่เดิมนั้นมีอยู่ ๒ วัด ติดต่อกันคือ วัดโบสถ์มณีราษฎร์ กับวัดศรีบุญเรือง โดยมีกำแพงกั้นอยู่ด้านหลังอุโบสถของวัดโบสถ์มณีราษฎร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการ๕ระสงฆ์ จังหวัดตาก ได้เสด็จเยี่ยมวัดโบสถ์มณีราษฎร์วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ พระองค์ทรงปรารกว่า ถ้าได้รวมวัดศรีบุญเรืองกับวัดโบสถ์มณีราษฎร์เป็นวัดเดียว โดยให้ชื่อว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” จะเป็นการดียิ่ง หลังจากนั้นจึงได้มีการรวมวัดทั้งสองดังกล่าวเป็นวัดเดียว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ให้มีนามว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ นับเป็นวัดชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๙ รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตลอดมา มีโรงเรียนของทางราชการตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย ซึ่งทางวัดได้ให้การอนุเคราะห์ด้วยดีตลอดมา
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดถ้ำผ่าผางาม ลำปาง
สวัสดีค่ะวันนี้จะนำทุกท่านเยือนถิ่นลำปางหนากันน่ะค่ะ วัดถ้ำผ่าผางามค่ะ
ถ้ำน้ำผ่าผางาม ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 1 (ซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-กรุงเทพ) กิโลเมตรที่ 496 เป็นถ้ำหินปูนลึก 300 เมตร ทัศนียภาพภายในถ้ำสวยงาม อากาศเย็นสบาย ที่ผนังถ้ำและเพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามตลอดระยะทางในถ้ำ ภายในถ้ำเงียบสงบเหมาะสำหรับวิปัสนากรรมฐาน
นอกจากนั้นภายนอกของบริเวณถ้ำในปัจจุบันยังเป็นสำนักสงฆ์ที่สวยงาม มีพุทธศานิกชนมาร่วมธรรมบุญเป็นจำนวนมากทั้งใกล้เคียงและต่างจังหวัด ด้านทางเข้ายังมีรูปหล่ออนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ร.5 และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอันได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี), ครูบาศรีวิชัย, หลวงปู่ทวด และตอนนี้กำลังทำการหล่อองค์พระประธารองค์ใหญ่อีกด้วย
ถ้ำน้ำผ่าผางาม คือแหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของวัดถ้ำน้ำผ่าผางาม ในอุทยานแห่งชาติแม่วะ บ้านวังสำราญ ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำธรรมชาติที่กว้างขวาง มีความยาว 302 เมตร มีทางวกไปวนมาและมีความลึกมาก
ภายในถ้ำ มีน้ำไหลผ่านและมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามตระการตาอาการปลอดโปร่ง ถ่ายเทดี มีจุดชมธรรมชาติ และหินงอก หินย้อยรูปร่าง แปลกๆสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง หินงอกสีขาวรูปคล้ายเจ้าแม่กวนอิม ที่นักทัศนาจรชอบไปขอโชคลาค ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งเสริม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของ อำเภอแม่พริก ระยะทางห่างจากถนนสายเอเซีย 2 ถนน 4 เลน ประมาณ 100 เมตร
ขณะนี้ได้รับการ ปรับปรุงทางเข้าเป็นถนนคอนกรีตทางขึ้นเยี่ยมชมภายในถ้ำมีบันไดปูนทอดยาวถึง ปากถ้ำ บรรยากาศภายในตัวถ้ำ สวยงาม ตาม ธรรมชาติ อากาศเย็นสบาย โดยจะมีวัดอยู่บริเวณทางขึ้น มีไฟฉายให้บริการ สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไป จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่จะแวะเยี่ยมชมก็สะดวกมาก เพราะ เป็นทางผ่านอยู่แล้ว
เส้นทางการท่องเที่ยว การเดินทางโดยรถยนต์ ใช้เส้นทางถนนพหลโยธินลำปาง - ตาก ห่างจากตัวอำเภอแม่พริก ประมาณ 5 กิโลเมตร รถยนต์เดิน ทางได้สะดวกสามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว
ข้อมูลโดย สำนักงานเทศบาลตำบลพระบาทวังตวง 65 หมู่ที่ 5 ถนนพหลโยธิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง 52180
ถ้ำน้ำผ่าผางาม ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 1 (ซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-กรุงเทพ) กิโลเมตรที่ 496 เป็นถ้ำหินปูนลึก 300 เมตร ทัศนียภาพภายในถ้ำสวยงาม อากาศเย็นสบาย ที่ผนังถ้ำและเพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามตลอดระยะทางในถ้ำ ภายในถ้ำเงียบสงบเหมาะสำหรับวิปัสนากรรมฐาน
นอกจากนั้นภายนอกของบริเวณถ้ำในปัจจุบันยังเป็นสำนักสงฆ์ที่สวยงาม มีพุทธศานิกชนมาร่วมธรรมบุญเป็นจำนวนมากทั้งใกล้เคียงและต่างจังหวัด ด้านทางเข้ายังมีรูปหล่ออนุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ร.5 และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอันได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี), ครูบาศรีวิชัย, หลวงปู่ทวด และตอนนี้กำลังทำการหล่อองค์พระประธารองค์ใหญ่อีกด้วย
ถ้ำน้ำผ่าผางาม คือแหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของวัดถ้ำน้ำผ่าผางาม ในอุทยานแห่งชาติแม่วะ บ้านวังสำราญ ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำธรรมชาติที่กว้างขวาง มีความยาว 302 เมตร มีทางวกไปวนมาและมีความลึกมาก
ภายในถ้ำ มีน้ำไหลผ่านและมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามตระการตาอาการปลอดโปร่ง ถ่ายเทดี มีจุดชมธรรมชาติ และหินงอก หินย้อยรูปร่าง แปลกๆสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง หินงอกสีขาวรูปคล้ายเจ้าแม่กวนอิม ที่นักทัศนาจรชอบไปขอโชคลาค ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งเสริม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของ อำเภอแม่พริก ระยะทางห่างจากถนนสายเอเซีย 2 ถนน 4 เลน ประมาณ 100 เมตร
ขณะนี้ได้รับการ ปรับปรุงทางเข้าเป็นถนนคอนกรีตทางขึ้นเยี่ยมชมภายในถ้ำมีบันไดปูนทอดยาวถึง ปากถ้ำ บรรยากาศภายในตัวถ้ำ สวยงาม ตาม ธรรมชาติ อากาศเย็นสบาย โดยจะมีวัดอยู่บริเวณทางขึ้น มีไฟฉายให้บริการ สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไป จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่จะแวะเยี่ยมชมก็สะดวกมาก เพราะ เป็นทางผ่านอยู่แล้ว
เส้นทางการท่องเที่ยว การเดินทางโดยรถยนต์ ใช้เส้นทางถนนพหลโยธินลำปาง - ตาก ห่างจากตัวอำเภอแม่พริก ประมาณ 5 กิโลเมตร รถยนต์เดิน ทางได้สะดวกสามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยว
ข้อมูลโดย สำนักงานเทศบาลตำบลพระบาทวังตวง 65 หมู่ที่ 5 ถนนพหลโยธิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง 52180
วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556
วัดร่องขุน จังหวัดเชียงราย
วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง
อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจารย์บอกว่า
จึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด" (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น) ความงดงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ "โบสถ์" เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล
สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา
ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ
ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง
นี่เป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ของโบสถ์ของวัดร่องขุ่น ส่วนรายละเอียดจริงๆ นั้น อาจารย์บอกว่าจะสร้างทั้งหมด 9 หลัง แต่ละหลังมีความหมายเป็นคติธรรมทุกหลัง ผมหวังจะสร้างงานพุทธศิลป์ของแผ่นดินให้ยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อให้คนทั้งโลกยอมรับ และปรารถนาจะมาชื่นชมให้ได้ จะถวายชีวิตสร้างจนลมหายใจสุดท้าย และได้สร้างลูกศิษย์รอรับช่วงต่ออีก 2 รุ่น หลังผมตาย คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 9 หลัง คงใช้เวลาทั้งหมด 60-70 ปีครับ"
นอกจากจะชมความงดงามของพระอุโบสถแล้ว ยังสามารถเข้าชมผลงานของอาจารย์ และเลือกซื้อของที่ระลึกจากวัดร่องขุ่นได้อีกด้วย
วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556
start:เริ่มต้นทำบุญที่วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
สวัสดีค่ะ วันนี้ตระเวนทำบุญขอเริ่มต้นพาทัวร์ในครั้งนี้ที่วัดพระบรมธาตุบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนเลยค่ะ วัดนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา
อ.บ้านตาก อยู่ห่างจาก อ.บ้านตาก ประมาณ 36 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 1107 ประมาณ 35 กม.
เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1175 อีกประมาณ 1 กม.
จะแลเห็นวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ
หรือถ้าใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ตรงกม.ที่ 442 เข้าอ.บ้านตากประมาณ
300 ม.
เลี้ยวขวาเข้าตลาดบ้านตากไปจนสุดถนนแล้วเลี้ยวซ้ายผ่านสะพานข้ามแม่ปิงแล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่านา
เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทุ่งยั้งไปจนสุดถนน
เลี้ยวขวาไปจนสุดทางลาดยางเข้าถนนลูกรังจนถึงสามแยก
แล้วแยกซ้ายอีก 200 ม. ถึงวัดพระบรมธาตุ ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ
วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดเก่าแก่
ได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งแล้ว
ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักสวยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้
หน้าต่างแกะเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค
วิหารของวัดซึ่งเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง 2 ชั้น
มีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในเย็น
วิหารนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง
นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ที่มีลายแกะสลักไว้ไห้ชม
นับเป็นวัดที่มีคุณค่าทางโบราณคดีมาก
อันดับแรกที่ทุกท่านเมื่อไปถึงวัดก็สักการะพระบรมธาตุก่อนเลยค่ะ จากนั้นก็เข้าไปสักการะหลวงพ่อทันใจ ที่เป็นที่เลื่องชื่อของชาวอำเภอบ้านตากเค้าเลยค่ะ
ป้ายกำกับ:
วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
ตำแหน่ง:
South East Asia
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)